โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5

|

01/12/2022

หมู่บ้าน : บ้านหัวนา

ข้อมูลพื้นฐาน

Image

ชื่อหมู่บ้าน บ้านหัวนา

รายละเอียดหมู่บ้าน

๑. ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน

       - ชื่อหมู่บ้าน หัวนา หมู่ที่ 2 ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

        - จำนวน ครัวเรือน ๙๗ หลังคาเรือน

        - จำนวนประชากร ๔๘๖ คน

        - ผู้ใหญ่บ้าน นายอภินันท์ เครือบุตร

        - วัดประจำหมู่บ้าน วัดจำปา

        - เจ้าอาวาส พระครูบวรสังฆรัตน์

๒. กิจกรรม/โครงการฯ ที่หมู่บ้านดำเนินการ

๑. โครงการอุทยานการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

. โครงการเศรษฐกิจจิตอาสาวิถีธรรมชาติ วันเสาร์เข้าวัด

๓. โครงการพะยูงคืนถิ่น สู่แผ่นดินศรีสะเกษ

๔. โครงการอบรมคุณต้นกล้าแห่งความดีวิถีพุทธ

. โครงการนุ่งผ้าไทยใส่บาตร เข้าวัดทำบุญทุกวันธรรมสวนะ

๖. โครงการโฮมบุญข้าวใหม่ปลามันเทิดไท้องค์ราชันย์

๗. โครงการเพิ่มศักยภาพแรงงานสู่ไทยแลนด์ ๔.๐ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

๘. โครงการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์รวมใจภักดี น้อมนำคุณธรรมสู่วิถีชุมชน

๙. โครงการวัดส่งเสริมสุขภาพ

๑๐. โครงการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

๓. จุดเด่นของหมู่บ้าน

       บ้านหัวนา เป็นชุมชนคนอีสานที่สืบเชื้อสายมาจากชาวลาว มีภาษาในการสื่อสารคือ ภาษาอีสาน คนในชุมชนมีอาชีพหลักคือการทำเกษตรกรรม และอาชีพเสริมที่หลากหลาย เช่น เกษตรผสมผสาน ปลูกถั่วลิสง หอมกระเทียม ยางพารา กลุ่มทอผ้าสไบขิด กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาแม่น้ำมูล กลุ่มเลี้ยงปูนาฟาร์มปูนาศรีสะเกษ กลุ่มเลี้ยงปลาในกระชัง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์ปูนาฟาร์มปูนาศรีสะเกษ มีประเพณีวัฒนธรรมที่มีอัตลักษณ์ คือ ประเพณีโฮมบุญข้าวใหม่ ปลา-มัน นับว่าเป็นชุมชนที่มีแนวทางการบริหารจัดการชุมชนที่มีประสิทธิภาพ และมีแนวทางการพัฒนาชุมชนด้วยการมีส่วนร่วมของหลากหลายภาคส่วนทั้ง วัด ภาครัฐ ภาคเอกสาร ภาคประชาชน ทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยกิจกรรมเชิงการพัฒนาต่างๆ เช่น โครงการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โครงการพะยูงคืนถิ่น สู่แผ่นดินศรีสะเกษ โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี   เป็นต้น นอกจากยังมีการพัฒนาคุณภาพจิตใจของคนในชุมชนโดยมีวัดจำปา เป็นศูนย์กลางในการส่งเสริมให้คนในชุมชนมีคุณธรรม ศีลธรรม ด้วยการจัดกิจกรรม/โครงการต่างๆ เช่น โครงการอบรมคุณต้นกล้าแห่งความดีวิถีพุทธ โครงการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์รวมใจภักดี น้อมนำคุณธรรมสู่วิถีชุมชน โครงการนุ่งผ้าไทยใส่บาตร เข้าวัดทำบุญทุกวันธรรมสวนะ โครงการอบรมคุณต้นกล้าแห่งความดีวิถีพุทธ เป็นต้น ส่งผลให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตและคุณภาพจิตใจที่ดี และนำไปสู่การมีสันติสุขเกิดขึ้นในชุมชน      

๔. กิจกรรมส่งเสริมการรักษาศีล ๕

                - กิจกรรมการปล่อยนก ปลา ไถ่ชีวิตโค กระบือและสัตว์เลี้ยงอื่นๆ

                - กิจกรรม กำหนดแนวเขตอภัยทานของป่าชุมชน และอนุรักษ์แหล่งน้ำ

                - การจัดกิจกรรมส่งเสริมสัมมาชีพตามหลักเบญจธรรม

                - กิจกรรมงดเหล้าเข้าพรรษา งานบุญปลอดเหล้า/ปลอดเศร้าอบายมุข

                - กิจกรรมส่งเสริมและยกย่องบุคคลต้นแบบในการลด ละ เลิกสุรา

                - กิจกรรมส่งเสริมการมีสติในการครองตน ครองคน ครองงาน

๕. ประเพณีวัฒนธรรม/วิถีวัฒนธรรมเชิงพุทธ/ประเพณีและพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา

                - ประเพณีวัฒนธรรมทำบุญแห่กฐินทางสายน้ำ

                - ประเพณีบุญมหาชาติ เทศนาพระเวสสันดรชาดก

                - ประเพณีวัฒนธรรมของชุมชม งานบุญกลางบ้าน

                - งานท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมลาว มีการแต่งกายด้วยผ้าพื้นถิ่น และการแสดงฟ้อนกลองตุ้ม วงพิณแคน

                - ประเพณีวัฒนธรรมของชุมชม งานบุญเดือน ๑๐ (สลากภัต)

                - ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง

                - กิจกรรมถวายขันหมากเบ็งพระธาตุกตัญญู

                - ประเพณีโฮมบุญข้าวใหม่ ปลา-มัน 

๖. ปัญหาและอุปสรรคของชุมชน

ทางคณะสงฆ์ได้มองเห็นปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน มองจากภายนอกวัด ในสังคมปัจจุบันความเจริญทางด้านวัตถุมีมากขึ้น ทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงไป ทำให้คนเห็นแก่ตัวมากยิ่งขึ้น ความเจริญทางจิตใจลดน้อยลง ขาดการเสียสละมีน้ำใจ ขาดความสามัคคี ขาดการมีส่วนร่วม และขาดจิตสาธารณะ จึงได้แนะนำให้ประชาชนในชุมชนยึดในหลักศีล ๕ ตามหลักพระพุทธศาสนาที่ว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ดังนั้นเพื่อปลูกฝังให้ชุมชนเป็นผู้มีวินัย มีความพอเพียง มีความสุจริต และจิตอาสา มีความเสียสละประโยชน์ส่วนตน ดำรงอยู่ในพื้นฐานของความพอเพียง มีระเบียบวินัย เคารพกฎเกณฑ์กติกาของสังคม มีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม เกิดเป็นแรงบันดาลใจในการจัดการกิจกรรมส่งเสริมด้านคุณธรรมภายในวัดและชุมชน โดยยึดหลักศีล ๕ ประกอบสัมมาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนัก และสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เป็นแบบอย่างที่ดีและเป็นพลังใน

การพัฒนาสังคมให้งดงามยิ่ง ๆ ขึ้นไป

๗. แนวทางการแก้ไขปัญหา

        ชุมชนมีธรรมนูญความสุขของหมู่บ้านเป็นระเบียบหลักการปฏิบัติที่เกิดจากความเห็นพ้องต้องกัน ของคนในหมู่บ้าน ได้จัดทำขึ้นตามเป้าหมายความสุขจังหวัดศรีสะเกษ ๕ ดี เมืองศรี อยู่ดีมีแฮงประกอบด้วย สร้างวัฒนธรรมดี คนดี สวัสดิการดี สิ่งแวดล้อมดี และมีวิถีพอเพียง ทั้งนี้ เพื่อให้หมู่บ้าน เกิดความอยู่เย็นเป็นสุขเป็นสังคมแห่งการเอื้ออาทร ไม้ทอดทิ้งกัน ประชาชนดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยยึดหลักเบญจศีลเบญจธรรม เป็นฐานของการพัฒนาภายใต้ธรรมนูญความสุขหมู่บ้านฉบับนี้ ชุมชนจะปฏิบัติตามเป้าหมายความอยู่เย็นเป็นสุขด้วยกัน ภายใต้นโยบาย ๕ ดี เมืองศรี อยู่ดีมีแฮง

ภาพหมู่บ้าน

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

หมู่บ้านอื่นๆ

หมู่บ้าน : บ้านปะอาว
จังหวัด อุบลราชธานี
อำเภอ เมืองอุบลราชธานี
ตำบล ปะอาว

หมู่บ้าน : บ้านกลางใหญ่
จังหวัด อุดรธานี
อำเภอ บ้านผือ
ตำบล กลางใหญ่

หมู่บ้าน : บ้านนาหมอม้า
จังหวัด อำนาจเจริญ
อำเภอ เมืองอำนาจเจริญ
ตำบล นาหมอม้า

หมู่บ้าน : บ้านห้วยเตย
จังหวัด หนองบัวลำภู
อำเภอ เมืองหนองบัวลำภู
ตำบล หนองหว้า

หมู่บ้าน : บ้านหนองกุ้งใต้
จังหวัด หนองคาย
อำเภอ โพนพิสัย
ตำบล กุดบง

หมู่บ้าน : บ้านวังปลัด
จังหวัด สุรินทร์
อำเภอ สังขะ
ตำบล ทับทัน

หมู่บ้าน : บ้านบึงพระราม
จังหวัด สระแก้ว
อำเภอ เขาฉกรรจ์
ตำบล พระเพลิง

หมู่บ้าน : บ้านดอนกอย
จังหวัด สกลนคร
อำเภอ พรรณานิคม
ตำบล สว่าง

หมู่บ้าน : บ้านตะเคียน
จังหวัด ศรีสะเกษ
อำเภอ ศรีรัตนะ
ตำบล ศรีแก้ว

หมู่บ้าน : บ้านหนองกุง
จังหวัด ร้อยเอ็ด
อำเภอ โพนทอง
ตำบล สว่าง

สำนักงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5

วัดไร่ขิง พระอารามหลวง ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ๗๓๒๑๐ โทร: ๐๓๔ ๓๑๘ ๔๑๔