โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5

|

06/12/2022

หมู่บ้าน : บ้านคลองชวดตาสี

ข้อมูลพื้นฐาน

Image

ชื่อหมู่บ้าน บ้านคลองชวดตาสี

รายละเอียดหมู่บ้าน

ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน

ชื่อหมู่บ้าน : บ้านคลองชวดตาสี

หมู่ที่ ๙ ตำบลโพราอากาศ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา

จํานวนประชากร : ประชากรทั้งสิ้น ๔๘๖ คน

จํานวนครัวเรือน : ๑๕๓ หลัง

ผู้ใหญ่บ้าน : นางมะลิ ทับทิมนาค โทร.๐๘๔-๙๑๓๙๒๓๒

วัดประจําหมู่บ้าน : วัดโพรงอากาศ

นามเจ้าอาวาส : เจ้าอธิการสมชาย พุทฺธสโร โทร.๐๘๐-๔๕๙๙๙๖๕

กิจกรรม/โครงการฯ ที่หมู่บ้านดำเนินการ

๑. ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการรักษาศีล ๕ ตามหลักเบญจศีล-เบญจธรรม สามารถนำหลักธรรมไปประยุกต์ใช้ในครอบครัว ชุมชน และพื้นที่

๒. ส่งเสริมการอนุรักษ์วิถีวัฒนธรรมชาวพุทธให้สืบทอดและเกิดความยั่งยืน

๓. ชุมชนเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาพื้นที่โดยการบูรณาการความร่วมมือกับคณะสงฆ์ ส่วนราชการ และเกิดมีเครือข่ายความร่วมมือในพื้นที่

จุดเด่นของหมู่บ้าน

หมู่บ้านรักษาศีล ๕ บ้านคลองชวดตาสี หมู่ที่ ๙ ตำบลโพรงอากาศ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทราพูดถึงเรื่องศีล ๕ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาจิตให้มีความเข้มแข็ง ทั้งนี้เป็นเพราะการหักห้ามใจในการไม่ละเมิดศีลที่ดูเหมือนง่าย แต่ในทางปฏิบัติเป็นเรื่องที่ท้าทายตนเองที่จะเอาซนะกิเลสตัณหาในตนเอง การหักห้ามใจไม่ให้พูดโกหกเพื่อทำร้ายหรือขัดประโยชน์ผู้อื่นเพื่อประโยชน์ตน ผู้ที่รักษาศีล ๕ นอกจากมีขันติแล้วยังต้องมีความศรัทธาในคำสอน และพากเพียรที่จะรักษาศีลไม่ให้ขาด ทะลุ หรือด่างพร้อย โดยมีสติเป็นตัวกำกับความคิดคำพูด และการกระทำ มีสมาธิหรือความสงบเป็นเครื่องขจัดความฟุ้งไปตามกิเลส และการใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญ ไม่ว่าจะทำกิจการใดต้องไม่ละเมิดศีล แม้ว่าผลประโยซน์หรือความต้องการของตนจะเป็นตัวจูงใจ ดังนั้น เมื่อผู้ใดฝึกตนรักษาศีส ๕ จนเบ็นปกติ ทำให้จิตเข้าถึงความสงบและยังทำให้เกิดกำลังใจในการพัฒนาศีลของตนเองให้ละเอียดยิ่งขึ้น โดยพิจารณาระวังไมให้อกุศลที่ไม่ให้เกิด หรือหากเกิดแล้วก็รู้เท่าทันที่จะละ และพยายามสร้างกุศลให้เกิด และเมื่อกุศลเกิดแล้วก็รักษาไว้ให้ต่อเนื่องและให้เจริญยิ่งขึ้น

หมู่บ้านรักษาศีล ๕ บ้านคลองชวดตาสี หมู่ที่ ๙ ตำบลโพรงอากาศ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดอะเชิงเทรา ได้ให้ประชาชนมีส่วนร่วม คือ การเปิดโอกาสห้ประชาชน มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหา การมีส่วนเลือกวิธีการแก้ไขปัญหา การมีส่วนร่วมในการดำเนินการแก้ไขปัญหา การมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์จากโครงการ และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ทั้งการที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการคิดริเริ่ม การตัดสินใจ การร่วมปฏิบัติและร่วมรับผิดชอบในเรื่องต่างๆ ทำให้เกิดการยอมรับ พร้อมอุทิศตนเพื่อทำกิจกรรมของชุมชน แนวคิดการมีส่วนร่วมมีความเชื่อพื้นฐานที่ว่า มนุษย์ทุกคนสามารถพัฒนาได้หากมีโอกาส และได้รับคำชี้แนะอย่างถูกต้อง

ดังนั้น การมีส่วนร่วมของชุมชนจะสำเร็จผลได้ต้องเกิดจากจิตใจที่ต้องการเข้าร่วมในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งเพื่อให้เกิดผลต่อความต้องการของกลุ่มคนที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตทางสังคม ทั้งนี้ในการที่จะให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริงนั้น การจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมต้องคำนึงถึง วิถีการดำเนินชีวิต ค่านิยม ประเพณี ทัศนคติของบุคคลเพื่อให้เกิดความสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม เพราะกลุ่มคน ในชุมชนมีความแตกต่างกันในลักษณะส่วนบุคคล ลักษณะทางเศรษฐกิจ และการได้รับข้อมูลข่าวสาร การเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชน โดยสรุปคือ การมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์สังเคราะห์ปัญหาของชุมชน ร่วมในการวางแผนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิต มีการกำหนดกิจกรรม และการดำเนินกิจกรรมประกอบการประเมินผลกิจกรรม โดยให้ความสำคัญที่ไช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง มีหน่วยงานภาครัฐคอยช่วยเหลือ ให้คำแนะนำหรืออำนวยความสะดวกเพื่อให้เกิดความสำเร็จขึ้นในการพัฒนาชุมชนบ้านคลองชวดตาสี หมู่ที่ ๙ ตำบลโพรงอากาศ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา

กิจกรรมส่งเสริมการรักษาศีล ๕

๑. กิจกรรมการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมความสามัคคีและคุ้มครองสิทธิชุมชนหรือคณะกรรมการ

การรักษาความปลอดภัยของหมู่บ้าน (ชรบ.)

๒. กิจกรรมการกำหนดเขตอภัยทานของหมู่บ้าน

๓. กิจกรรมการปล่อยนก ปลา ไถ่ชีวิตโค กระบือ และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ

๔. กิจกรรมเฝ้าระวังความรุนแรงในหมู่บ้าน

๕. กิจกรรมส่งเสริมจิตตภาวนาเพื่อเพิ่มพูนความเมตตาตามหลักเบญจธรรม

๖. กิจกรรมการแต่งตั้งคณะกรรมการ/ของหมู่บ้าน (ชรบ.) ดูแลทรัพย์สินในหมู่บ้าน

๗. กิจกรรมการตั้งกฎ ระเบียบในการป้องกันและแก้ปัญหาการลักขโมย

๘. กิจกรรมส่งเสริมความสุจริตโปร่งใสของหมู่บ้าน

๙. กิจกรรมส่งเสริมสัมมาชีพตามหลักเบญจธรรม

๑๐. กิจกรรมการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

๑๑. กิจกรรมการแต่งตั้งคณะกรรมการครอบครัวสัมพันธ์ของหมู่บ้าน

๑๒. กิจกรรมการป้องกันความรุนแรงครอบครัว

๑๓. กิจกรรมอบรมเยาวชนให้มีความรับผิดชอบพฤติกรรมทางเพศ

๑๔. กิจกรรมให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาและโรคติดต่อทางเพศ

๑๕. กิจกรรมส่งเสริมการปฏิบัติธรรมของครอบครัว

๑๖. กิจกรรมการแต่งตั้งคณะกรรมการไกล่เกลี่ยความขัดแย้งของหมู่บ้าน

๑๗. กิจกรรมป้องกันการทะเลาะวิวาทและความแตกแยก

๑๘. กิจกรรมส่งเสริมการรักษามารยาทการพูดในชุมชนและการใช้สื่อที่เหมาะสม

๑๙. กิจกรรมปฏิญาณตนเป็นคนดีของสังคม การรักษาสัจจะและมิตรภาพตามหลักเบญจธรรม

๒๐. กิจกรรมส่งเสริมความยุติธรรมชุมชน/มีศูนย์ยุติธรรมชุมชน

๒๑. กิจกรรมการตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขยาเสพติดในชุมชน

๒๒. กิจกรรมลดปัจจัยเสี่ยงยาเสพติด เช่น ลานกีฬาหมู่บ้าน

๒๓. กิจกรรมงดเหล้าเข้าพรรษา งานบุญปลอดเหล้า/ปลอดอบายมุข

๒๔. กิจกรรมส่งเสริมการมีสติในการครองตนเองของวัดและชุมชน

ประเพณีวิถีวัฒนธรรมเชิงพุทธ

๑. กิจกรรมไหว้พระสวดมนต์ ทำบุญตักบาตร ประจำวันพระ วันเสาร์ อาทิตย์

๒. กิจกรรมวันสำคัญของพระพุทธศาสนา

๓. กิจกรรมประเพณีของหมู่บ้านสืบสานวัฒนธรรมเรื่องในวันสงกรานต์

๔. กิจกรรมส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐาน

กิจกรรมส่งเสริมความสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์

๑. กิจกรรมการบันทึกความร่วมมือภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมความสามัคคี ปรองดองสมานฉันท์

๒. กิจกรรมการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ ผู้นำชุมชน ในการพัฒนาพื้นที่ ส่งเสริมการเข้าร่วมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕

๓. กิจกรรมอบรมคุณธรรม จริยธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานในพื้นที่

ปัญหาและอุปสรรคของชุมชน

ปัญหาของประชาชนในชุมชน คือ ความไม่เข้าใจเรื่องของการรักษาศีลอย่างท่องแท้ มีทัศนคติที่ผิด คิดมีแต่เสีย คือ เสียเวลาในการทำมาหากิน และไม่ได้ประโยชน์ เสียเงินเสียทอง เป็นการเข้าใจผิดในการให้ทาน รักษาศีล จึงเป็นผลทำให้คนไม่เข้าวัด อุปสรรคที่พบในโครงการฯ คือ ขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนที่เป็นกลุ่มคนส่วนน้อย ในการขับเคลื่อนโครงการฯ อีกทั้งในเรื่องของเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันทำให้เหินห่างจากศีลธรรม วัดวาอาราม การที่จะมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ได้ ต้องสละเวลา หรือแบ่งเวลาให้ถูกต้อง อีกทั้งปัญหาของการรักษาศีล ๕ ของเด็กและเยาวชนหรือนักเรียนในชุมชน วิถีชีวิตครอบครัวที่ขาดการดูแลอย่างใกล้ชิดจากพ่อ แม่ เนื่องจากต้องไปทำงานไกลบ้าน เมื่ออยู่กับตายายด้วยความห่งระหว่างวัย และการรู้ไม่ทันวัยรุ่นที่มีการเปลี่ยนแปลง และความต้องการทางวัตถุที่มากขึ้น ทำให้เป็นปัจจัยหนึ่งที่ครอบครัวไม่ได้ดูแลติดตามพฤติกรรมเด็กอย่างใกล้ชิด และเข้าใจในการรักษาศีลที่ไม่ถูกเท่าที่ควร

แนวทางการแก้ไขปัญหา

การขับเคลื่อนโดยการประชุมชี้ แจงในโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” ควรเน้นให้เห็นว่า การรักษาศีลนั้นดีอย่างไร แล้วได้อะไร ผู้นำในชุมชนจึงต้องปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างให้แก่คนในชุมชน พร้อมกับช่วยประชาสัมพันธ์พูดคุย ชักชวนให้ประชาชนมาร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนปฏิบัติธรรมเพื่อรักษาศีล ๕ เพื่อให้เกิดความเจริญคืบหน้าในอนาคต้ ทำให้หมู่บ้านคลองชวดตาสี หมู่ที่ ๙ ตำลโพรงอากาศ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นหมู่บ้านที่มีศีลธรรมอันดีงาม ทำให้คนหมู่มากเป็นคนความสงบสุขของสังคมและประเทศชาติต่อไป

 

ภาพหมู่บ้าน

Image Image Image Image Image Image Image Image

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

หมู่บ้านอื่นๆ

หมู่บ้าน : บ้านปะอาว
จังหวัด อุบลราชธานี
อำเภอ เมืองอุบลราชธานี
ตำบล ปะอาว

หมู่บ้าน : บ้านกลางใหญ่
จังหวัด อุดรธานี
อำเภอ บ้านผือ
ตำบล กลางใหญ่

หมู่บ้าน : บ้านนาหมอม้า
จังหวัด อำนาจเจริญ
อำเภอ เมืองอำนาจเจริญ
ตำบล นาหมอม้า

หมู่บ้าน : บ้านห้วยเตย
จังหวัด หนองบัวลำภู
อำเภอ เมืองหนองบัวลำภู
ตำบล หนองหว้า

หมู่บ้าน : บ้านหนองกุ้งใต้
จังหวัด หนองคาย
อำเภอ โพนพิสัย
ตำบล กุดบง

หมู่บ้าน : บ้านวังปลัด
จังหวัด สุรินทร์
อำเภอ สังขะ
ตำบล ทับทัน

หมู่บ้าน : บ้านบึงพระราม
จังหวัด สระแก้ว
อำเภอ เขาฉกรรจ์
ตำบล พระเพลิง

หมู่บ้าน : บ้านดอนกอย
จังหวัด สกลนคร
อำเภอ พรรณานิคม
ตำบล สว่าง

หมู่บ้าน : บ้านตะเคียน
จังหวัด ศรีสะเกษ
อำเภอ ศรีรัตนะ
ตำบล ศรีแก้ว

หมู่บ้าน : บ้านหนองกุง
จังหวัด ร้อยเอ็ด
อำเภอ โพนทอง
ตำบล สว่าง

สำนักงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5

วัดไร่ขิง พระอารามหลวง ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ๗๓๒๑๐ โทร: ๐๓๔ ๓๑๘ ๔๑๔